วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

เฟิร์นข้าหลวง ฝรั่ง เค้าเรียก “Bird’s nest fern”



ข้อมูลทั่วไป
ชื่อสามัญ                 Bird’s nest fern
ชื่อวิทยาศาสตร์        Asplenium nidus
ตระกูล                     POLYPODIACEAE
ถิ่นกำเนิด
เกิดอยู่ทั่วไปในแถบที่มีอากาศร้อน และอบอุ่น เช่น เอเซีย ออสเตรเลีย

ลักษณะทั่วไป
เฟิร์นชนิดนี้ ฝรั่งเรียกว่า “Bird’s nest fern” ชอบอาศัยอยู่ตามคาคบไม้ใหญ่ในเขตอบอุ่นที่มีความชื้นสูง ถือว่าเป็นลักษณะของกาฝาก ใบของเฟิร์นข้าหลวง จะมีสีเขียวอ่อน ขอบใบหยักเป็นคลื่น ก้านใบจะมีสีน้ำตาลเข้ม การเรียงตัวของใบจะเรียงตัวแบบเกลียวคล้ายดอกกุหลาบ ใบที่เกิดใหม่จะอ่อนและเปราะหักได้ง่ายแต่พอเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีความเหนียวและหนามาก เมื่อนำมาปลูกภายในอาคารบ้านเรือนจะต้องคอยทำความสะอาดเช็ดถูสิ่งสกปรกและฝุ่นละอองออกจากใบบ้าง เดือนละครั้งก็ยังดี เฟิร์นข้าหลวงเป็นพืชที่ชอบความชื้นสูงถ้าอากาศแห้งแล้งควรฉีดสเปรย์ให้ใบของมันอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งเพราะการฉีดละอองน้ำจะทำให้ใบของมันสดชื่นอยู่ตลอด

การดูแลรักษา
แสง                     ชอบอยู่ในร่มและแดดส่องถึงได้บ้างเล็กน้อย
อุณหภูมิ               ชอบอุณหภูมิ ประมาณ 18- 24 องศาเซลเซียส
ความชื้น               ต้องการความชื้นสูง
น้ำ                        ในระยะแรกของการเจริญเติบโตต้องให้น้ำอย่างเต็มที่ และลดปริมาณลงในฤดูหนาวปกติก็ควรจะให้ วันต่อครั้ง
ดินปลูก                 ดินร่วน ส่วน ใบไม้ผุ 1 ส่วน ทรายละเอียด ส่วน ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ส่วน (ควรใช้ปุ๋ยเก่าๆ ค้างปี เศษอิฐหัก ส่วน ปูนขาว 1/2 ส่วน
ปุ๋ย                        ควรละลายปุ๋ยผสมน้ำรดเดือนละครั้ง ถ้าต้องการเร่งการเจริญเติบโตในช่วงแรกก็ใช้ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 16 - 16 - 16 ละลายน้ำรดเดือนละ ครั้ง
กระถาง                 ควรกระถางปากกว้าง แต่ไม่จำเป็นต้องลึกนัก
การขยายพันธุ์        แยกกอ เพาะโดยใช้สปอร์ (spore)
โรคและแมลง        มด เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ส่วนโรคไม่ค่อยพบ
การป้องกันกำจัด    มด โรยด้วยยาผงคลอเดนไปที่รัง หรือทางเดิน เพลี้ยอ่อน ใช้ยาเซวินผล 1/2 ช้อนชา ละลายน้ำ แกลลอน ฉีดพ่นให้ทั่ว เพลี้ยไฟ ใช้เช่นเดียวกับเพลี้ยอ่อน

ประโยชน์
ที่นครเซี่ยงไฮ้ มีร้านอาหารหลายร้านมีเมนู ยอดอ่อนเฟินข้าหลวงผัดน้ำมันหอย



วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

ลั่นทม : ลีลาวดี


ลีลาวดี เป็นไม้ยืนต้นในเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา พบในบริเวณพื้นที่ ตั้งแต่ประเทศเม็กซิโกตอนใต้ถึงตอนเหนือของทวีปอเมริกา โดยเฉพาะหมู่เกาะ ทะเลแคริบเบียน


ต้นลั่นทม หรือ ต้นลีลาวดี


ในประเทศไทยที่พบเห็นทั่วๆไปจะมีดอกสีขาว แดง ชมพู และ สามสี เดิมทีชื่อเรียกของพันธุ์ไม้นี้
คือ “ลั่นทม” ซึ่งคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคำนี้มาจากคำ ว่า “ระทม” ที่หมายถึง ความเศร้าโศก ไม่เป็นมงคล จึงไม่นิยมปลูกเลี้ยงไว้ในบริเวณบ้านพักหรือที่ อยู่อาศัย แต่แท้ที่จริงแล้วมีผู้มีความรู้ด้านภาษาไทยกล่าวถึง คำ ว่า “ลั่นทม” ที่เรียกกันแต่โบราณหมายถึง การละแล้วซึ่งความโศกเศร้าแล้ว มีความสุข
ดังนั้นคำ ว่า “ลั่นทม” แท้ที่จริงนั้นจึงเป็นคำที่ผสมจาก ลั่น+ทม โดย คำ แรกหมายถึง แตกหัก ละทิ้งและคำ หลังหมายถึงความทุกข์โศก แต่ความเชื่อ ว่า “ลั่นทม” เป็นคำที่ไม่เป็นมงคลยังคงผฝังตรึงอยู่ในใจของคนไทยมาช้า นาน กระทั่งได้มีการเปลี่ยนชื่อ ต้นไม้ชนิดนี้มใหม่ จาก “ลั่นทม ” เป็น “ลีลาวดี” ซึ่งมีความไพเราะเหมาะเจาะกับรูปทรงและดอกอันสวยสด จนกลายมาเป็นไม้ยอดนิยมในปัจจุบัน เนื่องจาก รูปทรงที่สวยงามแปลกตาแล้วดอกสีลาวดี ยังมีสีสวยและมีกลิ่นหอม และยังถือว่าเป็นไม้มงคลอีกด้วย




ชื่อสามัญ : ลั่นทม หรือ ลีลาวดี(Lanthom)Temple tree , Pagoda tree , Frangipani
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plumeria acuminata Art. Sym.:P. actifolia Poir. , P. rubraLinn.var.Actifolia Bailey.
ชื่ออื่นๆ : กะเหรี่ยง กาญจนบุรี – จงป่า (Chong-pa)
ภาคเหนือ – จำปาลาว (Champa-lao)
อีสาน – จำปาขาว (Champa-Khao)
เขมร – จำไป (Cham-pai)
ภาคใต้ – จำปาขอม (Champa-khom)
ยะลา – ไม้จีน (Mai-Chin)
มลายู-นราธิวาส – มอยอ (Mo-yo)
ถิ่นกำ เนิด – เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ อินเดีย
วงศ์ : APOCYNACEAE

ประวัติความเป็นมาของลีลาวดี:

มีตำนานเล่าขานกันมาว่า ตามหลักสากลลีลาวดีได้ถูกเรียกชื่อว่า ฟรังกีปานี (frangipani) และเรียกกันทั่วๆไปว่า พลูมมีเรีย (plumeria) ซึ่งเป็นชื่อที่ถูกเรียกตามชื่อของนักพฤกษ์ศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ ชาร์ล พลัมเมอร์ (ค.ศ.๑๖๔๖-๑๗๐๖) บุคคลผู้นี้ได้ริเริ่มจัดระบบเป็นหมวดหมู่ให้กับต้นใม้และดอกไม้ในเขตร้อน
เรื่องมีอยู่ว่าในศตวรรษที่ ๑๗ นาย ชาร์ล พลัมเมอร์ ถูกมอบหมายจากกษัตริย์ฝรั่งเศส ให้ไป
แสวงหาพันธุ์ต้นไม้แปลกๆ ในเขตร้อนมาถวาย ชาร์ลจึงเดินทางไปยังหมู่เกาะ แคริเบียน ถึง ๓ ครั้ง จึงได้พบต้นไม้ที่มีดอกสวยงามและรูปทรงแปลกๆ และได้นำ กลับไปประเทศ ฝรั่งเศส

หลายปีผ่านไปนักพฤกษ์ศาสตร์ชาวฝรั่งเศสอีกท่านหนึ่งชื่อนาย ทัวนีฟอร์ท ได้ตั้งชื่อต้นไม้ชนิดที่ชาร์ลค้นพบนี้ว่าพลัมเมอร์เรีย (plumieria) เพื่อเป็นเกียรติแก่นาย ชาร์ล พลัมเมอร์ แต่ภายหลังชื่อถูกเรียกเพี้ยนไปเป็น พลูมมีเรีย (plumeria) อย่างไรก็ตามศัพท์ทางวิชาการของการเรียกชื่อต้นไม้ชนิดนี้ได้ระบุว่า ฟรังกีปานี (frangipani)

ชื่อ ฟรังกีปานี ถูกสมมุติฐานว่ามาจากคำ ในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า ฟรังกีปาเนีย (frangipanier) ซึ่งมาจากรากศัพท์ว่ากลิ่นหอม (fragrance) อีกสมมุติฐานของชื่อนี้คำ ว่า “ฟรังกีปานี” มีความหมายถึงยางสีขาวเหนียวเหนอะซึ่งออกมาจากต้นไม้ที่ถูกตัด ชาวฝรั่งเศสที่ได้ไปตั้งรกรากในหมู่เกาะแคริเบียนได้สังเกตุเห็นลักษณะเช่น นั้นจึงเรียกว่า ฟรังกีปานีเออร์ (frangipanier) ซึ่งในภาษาฝรั่งเศส แปลว่า นมข้น สรุปแล้วชื่อสากลของพันธุ์ไม้นี้มีความเป็นไปได้สูงว่ามาจากรากศัพท์ของภาษา ฝรั่งเศส





ลักษณะโดยทั่วไป :

ลีลาวดี เป็นไม้ยืนต้น มีขนาดจากที่เป็นพุ่มเตี้ยแคระสูงประมาณ0.6 เมตร จนถึงต้นใหญ่มากอาจที่สูงได้ถึง 12 เมตร ลำต้นแผ่กิ่งก้านสาขาและพุ่มใบสวยงาม มีน้ำยางขนสีขาวเป็นพันธุ์ไม้ที่สลัดใบในฤดูแล้งก่อนที่จะผลิดอกผลิใบรุ่น ใหม่ชนิดและพันธุ์ที่มีลักษณะดี ต้องมีทรงพุ่มแน่น มีกิ่งก้านสาขามาก ใบดกที่ปลายกิ่ง มีช่อดอกใหญ่ กิ่งที่ยังไม่แก่มีสีเขียวออ่นนุ่ม กิ่งที่แก่มีสีเทามีรอยตะปุ่มตะป่ำ ใบ เป็นใบเดี่ยวมีการเรียงตัวสลับกันและหนาแน่นใกล้ๆปลายกิ่ง มีตั้งแต่สีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม มีเส้นกลางใบแตกสาขาออกไปคล้ายขนนก ขนาดใบแตกต่างกันตั้งแต่ 5-20 นิ้ว ช่อดอก จะถูกผลิตออกมาจากปลายยอดเหนือใบแต่กก็มีบางชนิดที่ออกช่อดอกระหว่างใบหรือ ออกดอกใต้ใบ ช่อดอกบางชนิดตั้งขึ้น บางชนิดห้อยลง ใน 1 ช่อดอกจะมีดอกบานพร้อมกัน 20-30 ดอก บางต้นสมบูรณ์เต็มที่อาจมีดอกมากกว่า 100 ดอกต่อ 1 ช่อ ผล เป็นฝักคู่ รูปยาวรี กว้างประมาณ 1.5 – 15 ซม. เมื่อแก่แตกเป็น 2ซีก เมล็ดมีจำนวนมาก เมล็ดแบนมีปีก ลีลาวดีมีช่วงชีวิตที่ยาวนานนับ 100 ปี 

ใบ – เป็นใบเดี่ยว มีการเรียงตัวแบบสลับและหนาแน่นใกล้ปลายกิ่ง มีลักษณะแตกต่างกันไปทั้งรูปร่าง ขนาด สี และความหนาแน่น โดยทั่วไป ใบจะหนา เหนียวแข็ง และมีสีตั้งแต่สีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม มีเส้นกลางใบแตกสาขาออกไปคล้ายขนนก ขนาดใบแตกต่างกัน
ช่อดอก – ดอกจะผลิออกมาจากปลายยอดเหนือใบ เห็นเป็นช่อดอกใหญ่สวยงาม แต่ก็มีบางชนิดที่ออกช่อดอกระหว่างใบ หรือใต้ใบ บางชนิดห้อยลงบางชนิดตั้งขึ้น ในหนึ่งช่อจะมีดอกบานพร้อมกัน 10 – 30 ดอก ออกดอกประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน บางพันธุ์สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
ดอก – โดยทั่วไปจะมีขนาดใหญ่ถึงกลาง ยกเว้นบางพันธุ์ที่มีขนาดเล็ก กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย อยู่ลึกเข้าไปข้างใน ดอกของลีลาวดีมีสีสรรหลากหลายทั้ง ขาว แดง เหลือง ชมพู ส้ม ม่วง สีทอง มีกลิ่นหอมต่างๆกันไปในแต่ละชนิด ดอกมีขนาด 2 – 6 นิ้ว มีกลิ่นหอม ดอกมีลักษณะคล้ายท่อ ทำให้มองไม่เห็นเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย โดยจะมีเกสรตัวผู้ 5 อัน อยู่ที่โคนก้านดอก ส่วนเกสรตัวเมียอยู่ลึกลงไปในก้านดอก เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียบานไม่พร้อมกัน จึงยากต่อการผสมตัวเอง
ฝัก – มีลักษณะคล้ายกับฝักต้นชวนชม ฝักอ่อนสีจะมีสีเขียวเมื่อแก่ฝักจะมีสีแดงถึงดำ



พันธุ์ลีลาวดี:

ต้นลีลาวดีได้แพร่หลายในอเมริกา สมัยบุกเบิก ซึ่ง ต่อมามีการผสมข้ามพันธุ์ มีสีสันมากมายและหลากลักษณะ นักพฤกษ์ศาสตร์ชาวอเมริกัน ชื่อ วูดสัน (woodson) ได้บ่งลักษณะของชนิด เป็น 7 ลักษณะ ตามแหล่งดั้งเดิมของที่มา แล้วตั้งชื่อ ดังต่อไปนี้

1. พลูมมีเรีย อินโนโดรา แหล่งเดิมมาจากประเทศ โคลัมเบีย และ บิตริสกีนา
2. พลูมมีเรีย รูบรา ประเทศ ใน อเมริกากลาง
3. พลูมมีเรีย ซับเซสซิลิส ประเทศ ฮิสปานิโอลา
4. พลูมมีเรีย ออบทูซ่า หมู่เกาะบาฮามัส ประเทศ คิวบา จาไมกา ฮิสปานิโอลา
ปอร์โตริโก บริติสฮอนดูรัส
5. พลูมมีเรีย พูดิกา ประเทศ โคลัมเบีย เวเนซูเอลา และ มาตินิค
6. พลูมมีเรีย ฟิลิโฟเลีย ประเทศ คิวบา
7. พลูมมีเรีย อัลบา ประเทค ปอร์โตริโก เวอร์จินไอแลนด์ส และ เลสเซอร์ เอน-
ทิเลส

นอกจากนี้ยังมีการแบ่งชนิดของลีลาวดีตามลักษณะใบ ช่อดอก และสี ได้มีการตั้งชื่อเรียกกัน
อย่างกว้างขวางในแต่ละที่ ส่วนประเทศที่ให้ความสำ คัญของลีลาวดี ถึงมีการตั้งสมาคม
ก็คือ สหรัฐอเมริกา โดยมีการจดทะเบียนชื่อตามลักษณะต่างๆดังที่กล่าวถึงกว่า ๓๐๐ ชื่อ
จากจำ นวนของลีลาวดีที่มีอยู่เดิม (generic) และที่มีการผสมพันธุ์ (hybrid) กว่า ๑,๐๐๐
ชนิดทั่วโลก

การปลูกลีลาวดีในกระถาง:

ลีลาวดีตอบสนองต่อวัสดุปลูกที่มีความอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุสูง และได้รับปุ๋ยเสริมตามความเหมาะสม สัดส่วนของวัสดุปลูกที่แนะนำโดยทั่วไปคือ 2:1:1 โดยใช้ มูลวัวที่ย่อยสลายแล้ว ,ใบไม้ผุและดิน แต่วัสดุปลูกที่มีขนาดเล็กละเอียด เมื่อถึงระยะหนึ่งจะอัดตัวแน่นทำให้รากพืชขาดออกซิเจน น้ำขังไม่สามารถระบายได้ ทำให้เกิดโรครากเน่าได้

การปลูกลงดินในแปลงปลูก ระยะปลูกในการปลูกลงในแปลงเพื่อเป็นการเก็บสะสมสายพันธุ์ดี หรือปลูกเพื่อขุดล้อมจำหน่าย การปลูกลีลาวดีต้นหนึ่งต้องใช้พื้นที่ประมาณ 5 ตารางเมตร
ดินที่เหมาะสมในการปลูกลีลาวดี ควรเป็นดินร่วนปนทราย ดินควรมีปริมาณอินทรียวัตถุที่เหมาะสม สามารถดูดความชื้นได้ ในขณะเดียวกันต้องมีการระบายน้ำที่ดี ส่วนค่าของพีเอชที่เหมาะสมในการปลูกลีลาวดีควรจะมีระหว่าง 6.4 ถึง 6.8 (มีกรดเล็กน้อยถึง 7 คือระดับกลาง) ถ้ามีกรดมากเกินไปเนื่องจากมีระดับฟอสเฟสสูง ควรจะราดสารผสมของแมกนีเซียมซัลเฟต (เกลือเอปซ่อม) เพื่อให้ดินมีค่าเป็นกลาง การขาดสารแมกนีเซียมอาจทำให้เกิดการไหม้เกรียมของใบ สารแมกนีเซียมซัลเฟสสามารถแก้อาการเหล่านี้ได้ แต่ถ้าจะเร่งลำต้นและระบบรากเพื่อให้ใบสมบูรณ์ควรให้สารไนโตรเจน และในทางกลับกันถ้าลำต้นสูงเกินสัดส่วนที่ควรเป็นให้งดสารไนโตรเจนนี้หรือ ให้ในปริมาณที่น้อยลง

การดูแลรักษาลีลาวดี:

ลีลาวดี สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่กันดาร ดินไม่อุดมสมบูรณ์มากนัก แต่ถ้าต้องการให้ลีลาวดีออกดอกได้ดี ควรนำไปปลูกในกระถางและใช้ดินที่เป็นกรดเหมือนกับพืชเขตร้อนทั่วไป ลีลาวดีชอบความชื้นในอากาศสูงและไม่ชอบอยู่ในดินที่มีน้ำท่วมขังหรือมีการรด น้ำบ่อยครั้ง การปลูกควรเน้นการระบายน้ำหรือการยกร่องในแปลงปลูกเป็นหลัก ลีลาวดีเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดในเวลากลางวันอย่างน้อยครึ่งวัน แต่หลายชนิดต้องการแสงแดดเต็มวัน ยกเว้นบางชนิดที่มีดอกสีแดงซึ่งจะชอบการพรางแสงมากกว่า

1.การให้น้ำลีลาวดี

การให้น้ำลีลาวดีในกระถาง ควรให้จนดินเปียกทั่วถึง จนน้ำส่วนเกินระบายออกทางรูระบายน้ำ แล้วปล่อยให้วัสดุปลูกแห้งก่อนการให้น้ำครั้งต่อไป หรือช่วงแล้งจัด อาจเว้นวัน และควรตรวจดูความชื้นของวัสดุปลูกอยู่เสมอ
การให้น้ำลีลาวดีที่ปลูกลงดิน ควรให้ น้ำแต่น้อยให้ประมาณสัปดาห์ละครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพความชื้นในอากาศ ถ้าอากาศร้อนควรให้น้ำมากกว่าปกติ เพื่อรักษาความเขียวของใบ แต่การให้น้ำมากเกินไปมีผลต่อการเจริญเติบโตทางกิ่งก้านมากและทำให้ไม่ออก ดอก

2.การให้ปุ๋ยลีลาวดี

เนื่องจากต้นลีลาวดีที่สวยและมีราคาสูงนั้นจะต้องมีฟอร์มต้นที่ดี คือ มีลักษณะของทรงพุ่มกลมมีกิ่งก้านสาขาแตกออก ดูแล้วมีความพอดีกับความสูงของต้น ดังนั้นการให้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไปจะทำให้ต้นสูงชะลูดและไม่แทงช่อดอกใน เวลาอันควร ในการที่จะเร่งการเจริญเติบโตทั้งทางใบ ลำต้น และดอก คือการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมในอัตราส่วนที่เท่ากัน หรือให้ฟอสฟอรัสสูงและให้ธาตุอาหารรองที่จำเป็นต่อลีลาวดี คือ แมกนีเซียม ทองแดง เหล็ก สังกะสี กำมะถัน และแมงกานีส
การให้ปุ๋ยหมักลีลาวดี ควรให้สลับกับการรดน้ำคาวปลาจะช่วยเพิ่มไนโตรเจนในดินได้เป็นอย่างดี
การเลือกซื้อปุ๋ยจากร้านทั่วไป ภาชนะบรรจุจะระบุอัตราส่วนของสารต่าง ๆ เอาไว้ อาทิเช่น อักษรตัว N หมายถึง ไนโตรเจน ตัว P หมายถึง ฟอสเฟส ตัว K หมายถึง โปตัสเซียม ฯลฯ
เนื่องจากลีลาวดีชอบดินที่เป็นกรดอ่อน ดังนั้นปุ๋ยควรมีส่วนผสมของฟอสเฟสในอัตราที่มากกว่า ส่วนไนโตรเจนและโปตัสเซียมให้ผสมในอัตราปานกลาง

สำหรับการปลูกลีลาวดีในกระถางในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ประมาณต้นเดือนเมษายนควรจะโรยกระดูกป่น และปุ๋ยที่มีฟอสเฟสสูงทุก ๆ สัปดาห์ และอีก 1 เดือนถัดมาให้ปุ๋ยแมงกานีสซัลเฟตให้ปฏิบัติตามสูตรนี้จนกระทั่วเกิดตุ่มดอก ในช่วงเดือนมิถุนายน ซึ่งในช่วงนั้นควรเปลี่ยนไปใช้สารโปตัสเซียมไนเตรท และลดการให้จากทุกสัปดาห์เป็นเดือนละครั้ง เพื่อการออกดอกที่ได้ผลดี จนถึงเดือนกันยายนควรงดการให้ปุ๋ยทุกชนิด การนำกิ่งชำลงดิน ควรทำในเดือนเมษายนก่อนเข้าฤดูฝน

ศัตรูที่สำคัญของลีลาวดี: ได้แก่ ราสนิม และ เพลี้ยแป้ง

การขยายพันธุ์ลีลาวดี:

1.การปักชำลีลาวดี เป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็วในการขยายพันธุ์ต้นลีลาวดีและยังเป็นวิธีรักษาพันธุ์เดิมเอาไว้ การปักชำกิ่ง เป็นวิธีที่ใช้ในการขยายพันธุ์ลีลาวดีได้รับความนิยมมากที่สุด สามารถขยายพันธุ์ ได้จำนวนมากกว่าวิธีอื่น และเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่ข้อเสียคือจะได้ลักษณะสายพันธุ์เดียวกับต้นแม่พันธุ์์
ควรทำในฤดูใบไม้ผลิคือช่วงก่อนฤดูฝนปลายเดือนมีนาคมไปถึงต้นเดือนมิถุนายน จะได้ผลดีกว่าปักชำในช่วงเดือนอื่นๆ การชำกิ่งอาจจะทำ ได้ตลอดปี แต่ควรมีการเลือกต้นพันธุ์และวิธีปฏิบัติดังนี้

1.1 . เลือกกิ่งที่มีความสมบูรณ์ ลักษณะเนื้อไม้แข็งแรงตัดตรงตำ แหน่งที่ตํ่ากว่าส่วนที่
เป็นยอดอ่อน ถ้าจะให้ดีควรยาวประมาณ 2 ฟุต
1.2. ควรตัดกิ่งให้อยู่ในมุมที่สูงกว่ารอยแผลของก้านใบเก่าที่ร่วงไป (Growth Tips) เพื่อ ที่จะให้กิ่งเดิมที่ถูกตัดสามารถแตกกิ่งอ่อนได้จาก Growth Tips ที่เปลี่ยนตา และในเวลาเดียวกันก็สามารถป้องกันกิ่งเดิมไม่ให้เน่าเสียเมื่อเวลาผ่านไป การใช้ปูขาวป้ายที่แผลรอยตัดในต้นเดิมจะช่วยสมานแผลได้ดีไม่เปิดโรคแทรกซ้อน
1.3. กิ่งที่ตัดควรนำมาเก็บไว้ที่ร่มประมาณ 4 วัน ให้แผลแห้งก่อนนำ มาเพาะชำ มีการพูดกันว่าถ้านำกิ่งที่ตัดใหม่ไปชำ จะทำให้เกิดการติดเชื้อราโรคแทรกซ้อนได้ง่าย
1.4. ก่อนนำไปชำในโรงเพาะชำควรจะนำโคนกิ่งที่ตัดเตรียมไว้จุ่มในนํ้ายาเร่งราก หรือจะ
ให้ดีควรผสมนํ้ายาด้วยสารป้องกันเชื้อรา หลังจากนั้นจึงนำ กิ่งไปชำ ในกระถางหรือภาชนะที่
มีดินที่มีฮิวมัสสูงให้โคนกิ่งลึก 2-3 นิ้ว และรอยที่นํ้ายาควรจะสูงกว่าระดับเหนือดิน 1 นิ้ว
1.5. ผู้ที่มีประสบการณใ์นการปลูกลีลาวดีได้ให้ข้อสรุปไว้ว่า ก่อนนำกิ่งลงชำควรเด็ดใบ
ส่วนปลายออกให้เหลือครึ่งหนึ่งเพื่อลดการระเหยของนํ้า ซึ่งปลายกิ่งสามารถสังเคราะห์แสง
เพื่อเรียกรากที่งอก

2. การเพาะเมล็ดลีลาวดี จะใช้ฝักที่แก่จัด ส่วนใหญ่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งเมล็ดลีลาวดีงอกได้ง่าย แต่ละฝักของลีลาวดีจะได้ต้นกล้าประมาณ 50 -100 ต้น สามารถเพาะในกระถางเพาะได้เลย ข้อดี ของการเพาะเมล็ดลีลาวดี คือ จะได้ต้นที่กลายพันธุ์ หรือ ต้นลีลาวดีแคระ ด่าง

3. การเปลี่ยนยอด จะใช้ในกรณีที่ได้พันธุ์ดีแล้วนำมาเปลี่ยนยอดบนต้นตอที่เพาะกล้าไว้แล้วอาจ จะเสียบข้างหรือผ่าเป็นลิ่ม วิธีนี้ต้องป้องกันไม่ให้น้ำเข้า ไม่เช่นนั้นแผลจะเน่า

4. การติดตา ใช้ในกรณีที่ได้ตามีไม่มากนัก เป็นการขยายพันธุ์แบบประหยัด กิ่งหนึ่งสามารถขยายพันธุ์ได้เป็นจำนวนมาก

การตลาดของลีลาวดี: ลักษณะการผลิตและจำหน่ายลีลาวดีภายในประเทศแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ

1.การเพาะเมล็ดจำหน่ายเป็นต้นตอ ต้นตอมีความสูงประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร สามารถจำหน่ายได้ในราคา 10 – 50 บาท แล้วแต่สายพันธุ์
2.การนำต้นตอมาเปลี่ยนยอดพันธุ์ดี ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากเปลี่ยนยอดพันธุ์ดีก็สามารถจำหน่ายได้ในราคาประมาณ 150 – 500 บาท แล้วแต่สายพันธุ์
3.จากต้นที่เปลี่ยนยอดพันธุ์ดีแล้วนำไปเลี้ยงดูต่ออีกประมาณ 3 – 4 เดือน สามารถจำ หน่ายได้ในราคาตั้งแต่ 1,000 – 5,000 บาท
4.การปลูกลงดินเพื่อจำหน่ายต้นไม้ขุดล้อม ราคาที่ขายในท้องตลาดขึ้นอยู่กับขนาดและฟอร์มต้น ต้นลีลาวดีที่มีความสูงประมาณ 2 เมตร ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 4,000 – 5,000 บาท ฟอร์มต้นอยู่เกณฑ์ปานกลาง หากต้นที่สูงเกิน 2 เมตร และฟอร์มต้นได้รูป มีกิ่งก้านแตกสาขาเป็นฟอร์มกลม ลักษณะนี้เป็นลักษณะที่ดีและมีราคาแพงสนนราคาตั้งแต่ 10,000 – 15,000 บาท
5.การขายกิ่งพันธุ์ที่ไม่มีราก กิ่งละ 100 – 8,000 บาท ขึ้นกับสายพันธุ์และสีที่นิยม และขายเป็น เมล็ด ๆ ละ 2 – 10 บาท

การใช้ประโยชน์จากลีลาวดี:

1.ใช้ในการจัดสวน ตกแต่งภูมิทัศน์ พันธุ์ที่ครองความนิยมอยู่คือ “พันธุ์ขาวพวง” ที่เป็นพันธุ์ดั้งเดิม ที่ส่งกลิ่นหอมเฉพาะตัวทั้งยังสามารถออกดอกตลอดปี

2.ลีลาวดียังมีสรรพคุณเป็น “ยาสมุนไพร” ด้วย

ต้น = ใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคลำไส้พิการของม้า
ใบ = ใบแห้งชงน้ำร้อนดื่มรักษาโรคหอบหืด ใบสดลนไฟประคบร้อนแก้ปวด บวม
เปลือกราก = เป็นยารักษาโรคหนองใน ยาถ่าย แก้โรคไขข้ออักเสบ ขับลม
เปลือกต้น = ต้มเป็นยาถ่าย ขับระดู แก้ไข้ แก้โรคโกโนเรีย หรือผสมกับน้ำมันมะพร้าว-ข้าว-มันเนยเป็นยาแก้ท้องเดิน ยาถ่าย ขับปัสสาวะ
ดอก = ใช้ทำธูป ใช้ผสมกับพลูเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้มาลาเรีย
เนื้อไม้ = เป็นยาแก้ไอ ยาถ่าย ขับพยาธิ
ยางจากต้น = เป็นยาถ่าย รักษาโรคไขข้ออักเสบ ใช้ผสมกับไม้จันทน์และการบูรเป็นยาแก้คัน แก้ปวดฟัน

เล็บนาง : งามยิ่งดุจเล็บนวลน้อง



เล็บมือนาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Quisqualis Indica
ชื่อวงศ์ COMBRETACEAE
ชื่อสามัญ Rangoon Creeper
ชื่ออื่นๆ เล็บนาง, จะมั่ง, ไม้หม่อง
ถิ่นกำเนิด ประเทศอินเดีย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เล็บมือนาง

เล็บมือนาง เป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นค่อนข้างแข็ง ขึ้นเป็นพุ่มแน่น ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม มีขนปกคลุมประปราย ใบรูปหอกปลายแหลม โคนใบแคบ กลางใบกว้างประมาณ 4-6 ซม. ยาว 12-15 ซม. ดอกออกเป็นช่อ เมื่อเริ่มบานมีสีขาวหรือสีชมพูอ่อนเมื่อบานเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีชมพูเข้ม ช่อดอกยาว 10-30 ซม. ดอกย่อยมีก้านดอกยาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปทรงกระบอก ปลายแยกเป็น 5 กลีบ และจะมีเกสรยาว ๆ ยื่นออกมาจากกลางดอก 5 อัน เป็นช่อสีขาว แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีชมพู ดอกมีกลิ่นหอม เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 ซม. ดอกย่อยทยอยบาน เมื่อใกล้โรยเปลี่ยนเป็นสีแดง มีกลิ่นหอมแรงตั้งแต่พลบค่ำจนเช้า ดอกบานได้ 3-4 วัน ออกดอกได้ตลอดปี

การปลูกและดูแลรักษาเล็บมือนาง

เล็บมือนางเป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการแสงแดดจัด น้ำปานกลาง ดินปลูกควรเป็นดินร่วนซุย(ดินร่วนปนทราย) ธาตุอาหารสมบูรณ์ สามารถเก็บความชื้นได้สูง ควรหาวัสดุคลุมดินช่วยด้วย

การขยายพันธุ์เล็บมือนาง

ปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง หรือขยายพันธุ์โดยใช้รากหรือเหง้าที่ต้นอ่อนเกิดขึ้น แล้วแยกเอามาชำในที่ชุ่มชื้น

เข็มขาว



เข็มหอม,เข็มขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์(Scientific Name ) : Ixora finlaysonia wall. ex 6. Don

ชื่อวงศ์ ( Family Name ) : RUBIACEAE

ชื่อสามัญ(Common Name ) : siamese white Ixora

ชื่ออื่นๆ ( Other Name ) : เข็มพวงขาว,เข็มขาว

ลักษณะทั่วไปทางพันธุศาสตร์เข็มหอม

เข็มหอม เดิมเป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกาใต้ จัดว่าเป็นไม้พุ่ม ซึ่งมีความสูง 1-3 เมตร ค่ะ เข็มหอม หรือเข็มขาวมีสำต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งใกล้ผิวดินจำนวนมาก เราจึงพบว่าเข็มหอมมักอยู่กันเป็นพุ่มแน่น โดยแต่ละต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 1-2 เซนติเมตร เปลือกสีดำหรือม่วงเข้ม ใบเป็นใบเดี่ยวรูปรีแกมขอบขนาน เรียงตรงข้าม หน้าใบมัน สีเขียวเข้ม หลังใบสีอ่อนกว่าและเห็นเส้นใบชัดเจน ในส่วนของช่อดอก จะมีสีขาว ออกที่ปลายยอด มีเส้นผ่าศูนย์กลางช่อดอก 8-18 เซนติเมตร มีดอกย่อยจำนวนมาก   ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงสีเขียวรูปถ้วย ปลายแยกเป็นกลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก ๆ ยาว 2.5-3 เซนติเมตรปลายหลอดมีกลีบแยกจากกันเป็น 4 กลีบ แต่ละกลีบรูปไข่กว้าง 0.3 เซนติเมตร ยาว 0.6 เซนติเมตร เมื่อดอกบานมีเส้น   ผ่าศูนย์กลาง 1.2-2 เซนติเมตร ดอกย่อยภายในช่อดอกเดียวกันบานในเวลาใกล้เคียงกัน ดอกที่บานใหม่ ๆ จะมีสีขาว บริสุทธิ์ เมื่อใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ ดอกมีกลิ่นหอม และออกดอกตลอดปี

การปลูกและขยายพันธุ์เข็มหอม

ขยายพันธุ์ได้หลายวิธีค่ะ ทั้งเพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง หรือตอนกิ่ง พบว่าออกรากได้ง่าย ปลูกเลี้ยงและบำรุงรักษาได้ง่าย ทนทาน มีอายุยืนนานหลายปี ชอบดินที่มีความชื้นสูงและชอบแดดจัด ต้นที่ปลูกในที่มีแสงน้อยหรือได้รับร่มเงาของต้นไม้อื่น จะมีกิ่งยืดยาวและไม่ค่อยออกดอก เหมาะที่จะปลูกเป็นไม้พุ่มหรือไม้ที่ตัดแต่งเป็นพุ่มรูปทรงต่าง ๆ ปลูกตามขอบแนวถนนหรือปลูกเป็นรั้วและตัดแต่งเป็นแนวยาวตามถนน

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บานบุรีสีเหลือง


ชื่อพื้นเมือง                 บานบุรีสีเหลือง
ชื่อวิทยาศาสตร์            Allamanda cathartica  L.
ชื่อวงศ์                       APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ                   Allamanda , Golden Trumpet
ประโยชน์                  เปลือกและยาง ใช้แต่น้อยเป็นยาขับถ่ายน้ำดี ถ้าใช้มากจะมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย อย่างแรง ทำให้อาเจียนได้ ใบ ใช้เป็นยาถ่าย ทำให้อาเจียน รักษาอาการจุกเสียด
ลักษณะพิเศษ              ดอก ออกเป็นช่อที่ยอด สีเหลือง ดอกมีขนาดโต มีกลีบ5 กลีบ โคนกลีบติดต่อกันเป็นท่อสั้นๆ

เอื้องต้น

ชื่อพื้นเมือง                 เอื้องต้น (ยะลา) , เอื้องใหญ่ (ภาคใต้), เอื้องเพ็ดม้า (ภาคกลาง เกาะสมุย), เอื้องช้าง(นครศรีธรรมราช)
ชื่อวิทยาศาสตร์            Coutus specious (J.G.Kaenig) Sm.
ชื่อวงศ์                     ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ                   crape Ginger, Malay Ginger, Spiral Flag
ประโยชน์                  เหง้า ใช้แห้งประมาณ 3-6 กรัม ใช้ต้มน้ำกิน หรือตุ๋นกับเนื้อสัตว์กิน ใช้สำหรับภายนอก ต้มเอาแต่น้ำชะล้าง. หรือตำพอก เหง้าจะมีรสฉุน และเย็นจัด แต่มีพิษ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ รักษาอาการบวมน้ำ สตรีตกขาวและโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แผลอักเสบบวมมีหนอง ฆ่าพยาธิ และทำให้แท้ง
[d-08.jpg]

[d-04.jpg]

[d-01.jpg]

ปาล์มสิบสองปันนา


ชื่อพื้นเมือง                 ปาล์มสิบสองปันนา
ชื่อวิทยาศาสตร์            Phoenix roebelenii O'Brien
ชื่อวงศ์                        PALMAE
ชื่อสามัญ                   Dwarf date palm
ประโยชน์                  ใช้เป็นไม้ประดับสวนทั่วไป
ลักษณะพิเศษ              ดอก ช่อดอกออกระหว่างกาบใบ ช่อดอกยาวประมาณ 1 ฟุต ดอกไม่สมบูรณ์เพศ แยกเพศอยู่คนละต้น
ผล ผลมีสีดำ ลักษณะยาวรี ขนาดยาว 1.2 เซนติเมตร



เฟื่องฟ้า




ชื่อพื้นเมือง                 เฟื่องฟ้า ดอกโคม ดอกต่างใบ ตรุษจีน ดอกกระดาด           
ชื่อวิทยาศาสตร์            Bougainvillea spp. and hybrid
ชื่อวงศ์                     NYCTOGINACEAE
ชื่อสามัญ                   Bougainvillea, Paper flower
ประโยชน์                  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ
ลักษณะพิเศษ              ลำต้น มีหนามคมแหลม ติดอยู่เป็นระยะๆ ลักษณะของทรงพุ่มสามารถตัดแต่งและบังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่ง ผล ผลแห้ง ขนาดเล็ก มี 5 พู

หนวดปลาหมึกยักษ์


ชื่อพื้นเมือง                 หนวดปลาหมึกยักษ์ หนวดปลาหมึก ปลาหมึก                            
ชื่อวิทยาศาสตร์            Schefflera actinophylla (Endl.) Harms
ชื่อวงศ์                        ARALIACEAE
ชื่อสามัญ                   Octopus tree
ประโยชน์                  ปลูกเป็นไม้กระถาง ตกแต่งภายในอาคาร
ลักษณะพิเศษ              ใบ มีสีเขียวไม่ผลัดใบ  ดอก เป็นช่อสีแดงคล้ายหนวดของหมึก   เป็นพรรณไม้ในที่ร่ม ไม่ชอบแสงแดด

เต่าร้าง


ชื่อพื้นเมือง                 เต่าร้าง เต่าร้างแดง เชื่องหมู่ มะเด็ง งือเด็ง                              
ชื่อวิทยาศาสตร์            Caryota mitis Lour.
ชื่อวงศ์                     ARECACEAE
ชื่อสามัญ                   Burmese fishtail palm,
ประโยชน์                  ยอดอ่อน นำไปปรุงอาหารรับประทานได้
ลักษณะพิเศษ              ใบ รูปสามเหลี่ยมหยักเว้า ปลายแหลมคล้ายหางปลา โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบสีเขียวเป็นมัน โคนกาบใบมีขนสีน้ำตาลแดงปนเทาหรือสีดำ และระยางค์สีน้ำตาลปกคลุม ผล ออกเป็นพวงๆ ทรงกลม ขนาด 2 เซนติเมตร ผลสุกสีแดงคล้ำ

งิ้ว


ชื่อพื้นเมือง                 งิ้ว งิ้วแดง งิ้วทัน
ชื่อวิทยาศาสตร์            Bombax ceiba L.
ชื่อวงศ์                        BOMBACACEAE
ชื่อสามัญ                     -
ประโยชน์                  ใช้รักษาแผลน้ำร้อนลวก แก้ร้อนในพิษไข้ เมล็ด รักษาโรคผิวหนัง ราก บำรุงกำลัง เปลือก แก้ท้องเสีย บิด ใยเปลือก ใช้ทำเชือก ปุยนุ่นใช้ยัดที่นอน ใบ ตำเป็นผงทาแก้ฟกช้ำ เกสรเพศผู้ ตากแห้งใส่แกง หรือน้ำเงี้ยว 

อากาเว่บุญชู


ชื่อพื้นเมือง                 อากาเว่บุญชู
ชื่อวิทยาศาสตร์            Agave spp.     
ชื่อวงศ์                     AGAVACEAE
ชื่อสามัญ                      -
ประโยชน์                  ปลูกเป็นไม้ประดับ ทำรั้วกันขโมยเพราะมีหนาม เส้นใย ทำเชือก กระเป๋าถือ เสื้อผ้า
ลักษณะพิเศษ              ใบ มีลักษณะหนาแข็ง อวบน้ำ ใบจะเรียวยาว มีสีเขียวแก่ พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยงเป็นมัน  ริมขอบใบมีหยัก เป็นหนาม แหลมเล็กๆ


หูกระต่าย


ชื่อพื้นเมือง                 หูกระต่าย หูปลาช่อน
ชื่อวิทยาศาสตร์            Acalypha Spp.
ชื่อวงศ์                     EUPHORBIACEAE
ชื่อสามัญ                   Copper Leaf Beef-Steak
ประโยชน์                  ใช้ปลูกเป็นรั้ว
ลักษณะพิเศษ              ใบ  รูปไข่ มีสีเหลืองและเขียว หรือสีนากปนเขียวใบซ้อนเรียงสลับกัน

ปาล์มจีบ


ชื่อพื้นเมือง                 ปาล์มจีบ
ชื่อวิทยาศาสตร์            Licuala grandis H.Wendl.
ชื่อวงศ์                     ARECACEAE
ชื่อสามัญ                   Fan Palm
ประโยชน์                  ปลูกเป็นไม้ประดับ
ลักษณะพิเศษ              ใบ  รูปพัดแต่ไม่แตกแยกออกเป็นใบย่อย ใบเกือบกลมมีรอยจีบตามความยาวของใบ ใบแฉกตื้น   และมีฟันหยักแหลมๆ ตัวใบกว้าง 3 ฟุตยาว 2 ฟุต ดอก ช่อดอกจะออกดอกระหว่างกาบใบ ช่อดอกยาวๆ พอกับ ความยาวของใบดอกเล็กๆ ยาวเป็นดอกสมบูรณ์ ผล ผลเล็กขนาดเท่าเมล็ดถั่วลันเตา กลมสีแดงส้มปนแสด เวลาอ่อนสีเขียวสดเวลาแก่จะมีสีแดง 

อินทนิลบก


ชื่อพื้นเมือง                 อินทนิลบก กากะเจา (อุบลราชธานี) จันล่อ จะล่อ จะล่อทุกวาง (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์            Lagerstroemia macrocarpa (dall.)
ชื่อวงศ์                     LYTHRACEAE
ชื่อสามัญ                     -
ประโยชน์                  ปลูกเป็นไม้ประดับ
ลักษณะพิเศษ              ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่กลับหรือรูปรี ปลายมนหรือเป็นติ่งแหลม โคนมนหรือสอบ ขอบเรียบ ผิวเกลี้ยงเป็นมันทั้งสองด้าน หลังใบสีเขียวเข้มกว่าท้องใบ ดอก สีม่วงเข้ม ม่วงอ่อน ชมพูอมม่วง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง