วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555


ชื่อพื้นเมือง       มะลิลา  มะลิ, มะลิลา (ทั่วไป), มะลิซ้อน (ภาคกลาง), มะลิขี้ไก่ (เชียงใหม่), มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน), มะลิป้อม (ภาคเหนือ), ข้าวแตก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), เตีย (ละว้า- เชียงใหม่)
ชื่อวิทยาศาสตร์     Jasminum Sambac (L.) Aiton
ชื่อวงศ์           OLEACEAE
ชื่อสามัญ         Arabian jasmine 

ลักษณะพิเศษ              เป็นไม้พุ่ม บางพันธุ์เป็นไม้รอเลื้อย สูง 0.3-3  เมตร ใบเรียงตรงข้าม เป็นใบประกอบชนิดที่มีใบย่อย ใบเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 3-6  ซม. ยาว 5-10  ซม. ดอกดอกเป็นช่อเล็ก ๆ มี ทั้งดอกลาและดอกซ้อน ดอกสีขาว โคนดอกติดกันเป็นหลอด สีเขียวอมเหลือง ดอกกลางบานก่อน กลีบเลี้ยงแยกเป็นส่วน 7-10 ส่วน มีขนละเอียด ยาว 2 1/2-7 ซม. โคน กลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด ยาว 7-15  มม. ส่วนปลายแยกเป็นส่วนรูปไข่ แกมรี สีขาว  อาจมีสีม่วงด้านนอกหรือเมื่อดอกร่วงยาว 8-15  มม. ดอกอาจซ้อนหรือลา ผลสด  (berry) สีดำ แต่ยังไม่พบใน กทม. ดอกมีกลิ่น หอม ออกดอกตลอดปี แต่ดอกมีน้อยในฤดูหนาว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น