วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นมแมว



ข้อมูลทั่วไป

ชื่อวิทยาศาสตร์              Rauwenhoffia siamensis  
ชื่อวงศ์                            ANNONAEAE  
ชื่อสามัญ                        Nom-Maew 
ชื่ออื่นๆ - 
ถิ่นกำเนิด                       ประเทศไทย 
การขยายพันธุ์                เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง 
ประวัติและข้อมูลทั่วไป เป็นพรรณไม้ไทย พบตามชายป่าชื้นทางภาคใต้ และภาคกลางของประเทศไทย



นมแมว เป็นต้นไม้พื้นเมืองดั้งเดิมของไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ที่ เป็นชื่อชนิดคือ Siamensis บ่งบอกว่าเป็นพืชที่พบในสยาม ซึ่งก็คือประเทศไทยปัจจุบัน พระยาวินิจวนันดร บันทึกไว้ว่า นมแมวเป็นพืชเฉพาะถิ่นที่พบเฉพาะในป่าดิบภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย ปกติพบขึ้นอยู่ตามชายป่าชื้น คนไทยนิยม นำมาปลูกในบริเวณบ้าน จึงนับได้ว่า นมแมวเป็นต้นไม้ของไทยอย่างแท้จริง

เพราะเป็นพันธุ์พืชเฉพาะถิ่นของ ไทยภาคกลางและภาคใต้เท่านั้น นมแมวจึงไม่มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นๆ แม้แต่ในภาษาไทยก็มีชื่อนมแมวเพียงชื่อเดียวเท่านั้น ซึ่งนับว่าหาได้ยาก เพราะ ต้นไม้ชนิดอื่นๆ นั้นปกติจะมีชื่อเรียกต่างๆ กันไปหลายชื่อ ทั้งในภาคเดียวกันและต่างภาค เช่น การเวก ก็มีชื่ออื่นอีกมาก (กระดังงาป่า กระดังงัว กระดังงาเถา นมวัว) สายหยุดก็มีชื่อหลายชื่อ (สาวหยุด เสลาเพชร กล้วยเครือ เครือเขาแกลบ) การที่นมแมวมีเพียงชื่อเดียวจึงนับเป็นกรณีพิเศษ ที่หาได้ยาก
ชื่อนมแมวคงมาจากลักษณะ บางอย่างของต้นไม้ชนิดนี้ ที่คล้ายนมของแมว ซึ่งคงเป็นดอกขณะยังตูมมีขนาดเล็ก เพราะยังมีชื่อต้นไม้ที่ชื่อคล้ายๆ กันอีก เช่น นมวัว นมควาย นมชะนี และนมช้าง ที่อยู่ในวงศ์ Annonaceae เช่นเดียวกัน มีรูปทรงดอกคล้ายกัน แต่มีดอกขนาดใหญ่กว่าดอกนมแมว
ทั้งสิ้น หากพืชเหล่านี้ไม่ได้ตั้งชื่อตามลักษณะรูปร่างของดอก ก็คงตั้งชื่อตามลักษณะของผลนั่นเอง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
นมแมวเป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ขนาดไม่สูงนัก สูงประมาณ 1-2 เมตร หากอยู่โดดเดี่ยว กลางแจ้งก็มีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดย่อม สูง 1.5-2.5 เมตร กิ่งก้านและลำต้นสีน้ำตาลเข้มออก ดำ แตกกิ่งก้านสาขาค่อนข้างแน่นทึบ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปหอก โคนใบมน ปลายใบแหลมยาวประมาณ 3 นิ้ว ดอกสีเหลือง มี 6 กลีบ แบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกแข็งและสั้น เมื่อบานเต็มที่มีขนาดประมาณ 0.5 นิ้ว กลิ่นหอมแรงในเวลาเย็นถึงค่ำ 

ใบเป็นใบ เดี่ยวออกเรียงสลับ ตามกิ่ง ใบเป็นรูปหอก โคนใบมน ปลายใบค่อนข้างแหลม(เป็นรูปหอก) สีเขียว ยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร ดอกออกตามง่ามใบ อาจออก เป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อระหว่าง 2-4 ดอก ดอกสีเหลืองค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตร เมื่อดอกบานกลีบ ดอกมีสีเหลืองนวลอมเขียวบริเวณ โคนกลีบดอก กลีบดอกหนาแข็ง มีดอกละ 6 กลีบ แบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ ดอกบานตอนค่ำ  เมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 0.5 นิ้ว มีกลิ่นหอมแรงในเวลาเย็นถึงค่ำ ผลมีขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์ กลางประมาณ 1 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีเหลือง รสหวานกินได้ อาจจะมีช่อละ 1-4 ผล

การปลูกและดูแลรักษาต้นนมแมว 

นมแมวชอบแดดจัดและต้องการความชื้นสูง ขึ้นได้ดีในสภาพดินเกือบทุกชนิด แต่สามารถ ขึ้นร่วมกับต้นไม้อื่นในสภาพป่าทึบ ได้หากไม่อยู่ในร่มตลอดวัน ดอก ออกได้ตลอดปีหากได้น้ำพอ แต่ให้ดอกดกที่สุดในช่วงฤดูฝน โดย เฉพาะช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ในหน้าฝนจะให้ดอกดกมาก

ประโยชน์ของนมแมว

ประโยชน์ หลักของนมแมวที่คนไทยรู้จักดีคือในฐานะไม้พุ่มและไม้ดอก เนื่องจากนมแมวเป็นไม้พุ่มขนาดย่อม มีความแข็งแรงทนทาน ปลูกง่าย อายุยืนนาน น้ำท่วมก็ไม่ตาย จึงนิยมปลูกกันมากในที่ราบลุ่มภาคกลาง ในอดีต จะพบปลูกอยู่ในบริเวณวัดและโรงเรียนแทบทุกแห่ง ตามบ้านเรือน ที่มีบริเวณปลูกต้นไม้ก็จะพบต้นนมแมวอยู่เสมอ คงเป็นเพราะนอก จากปลูกง่ายทนทานแล้ว นมแมว ยังออกดอกตลอดทั้งปี รูปทรงพุ่ม กะทัดรัด ใบเขียวตลอดปี ดกทึบ ดอกมีขนาดเล็ก พกพาติดตัวได้ง่ายและไม่ชอกช้ำเพราะมีกลีบหนาแข็ง ให้กลิ่นหอมแรงเฉพาะตัว เหมาะสำหรับห่อผ้าหรือผูกผมคล้าย ดอกจำปี

คนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันคง ไม่เคยได้ดมกลิ่นดอกนมแมว จึงคงนึกไม่ออกว่าในอดีต กลิ่นดอกนมแมวเป็นกลิ่นดอกไม้ที่คนไทยคุ้นเคย และนิยมชมชอบมาก ที่สุดชนิดหนึ่ง กลิ่นของดอกนมแมวที่คนไทยในอดีตคุ้นเคยและได้ สัมผัสอยู่บ่อยๆ นั้น มิได้มาจากดอกนมแมวโดยตรงเท่านั้น หากแต่ยังมาจากขนมไทยชนิดต่างๆ ที่นิยมปรุงแต่งกลิ่นดอกนมแมวเพื่อให้น่ากินยิ่งขึ้น โดยเฉพาะขนม ที่ใส่น้ำเชื่อมหรือน้ำกะทิ เช่น ขนม จำพวกลอดช่อง เป็นต้น

ความนิยม ใช้กลิ่นดอกนมแมว ปรุงแต่งกลิ่นขนมไทยในอดีตนั้น มีมากจนเกิดผลผลิตที่เป็นน้ำหอม กลิ่นดอกนมแมวออกขายในท้องตลาด เพื่อใช้ปรุงแต่งกลิ่นขนมไทยโดยเฉพาะ มีชื่อเรียกทั่วไปว่า"น้ำนมแมว" ซึ่งหมายถึงน้ำหอมกลิ่นดอกนมแมวนั่นเอง ไม่ใช่น้ำนม ของแมวแต่อย่างใด พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้ความหมายไว้ว่า "น้ำ-นมแมว น. ของเหลวชนิดหนึ่งประกอบด้วย เอทิล อะซีเทต (ethyl acetate) มีกลิ่นหอมคล้าย ดอกนมแมว ใช้ประโยชน์เป็นตัวปรุงกลิ่นขนม เป็นต้น"

ปัจจุบัน นี้ไม่ทราบว่ายังมีน้ำนมแมววางขายอยู่ในตลาดบ้างหรือเปล่า แต่คาดว่าความนิยมใช้น้ำนมแมวปรุงกลิ่นอาหารคงลดน้อยลงมากกว่าในอดีตหลาย เท่า เพราะคนไทยปัจจุบันหันไปนิยมกลิ่นดอกไม้จากต่างประเทศมากขึ้น เช่น กลิ่นวานิลลา (vanilla) อัน เป็นกล้วยไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งปัจจุบัน เป็นกลิ่นสังเคราะห์ขึ้นแทบทั้งสิ้น

การฟื้นฟูความนิยมในด้านต่างๆ เกี่ยวกับนมแมว ทั้งด้านปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับตามบริเวณสวนสาธารณะ สถานที่ราชการ ตามบริเวณบ้าน ฯลฯ และด้านนำกลิ่นดอกนมแมว (ที่ปรับปรุงให้ดีกว่าเดิม) มาใช้ปรุง แต่งอาหารหรือเครื่องสำอาง สำหรับ คนไทยจึงน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของวิถีไทยในปัจจุบันและอนาคต


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น